www.rocketsdata.tht.in  

วันว่างของครอบครัวมารวมตัวประดิษฐ์จรวดน้ำสร้างความอบอุ่น                                                                                                                                                                       
 
 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 10 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
58 คน
58 คน
341557 คน
เริ่มเมื่อ 2009-06-17

   ระบบปลดล๊อคจรวด2ท่อนโดยใช้ลมเป็นตัวปลดล๊อค

ความเป็นมาของระบบปลดล๊อคนี้  ก่อนที่จะมีการแข่งขันจรวดขวดน้ำสุดยอดประเทศไทยครั้งที่1ได้มีการซ้อมระบบต่างๆ

โดยมี อ.พิจิตต์ ยมหล้า ลุงดนัยและลุงเปี๊ยกแห่งทีมศรีบุณยานนท์ ได้นำเอาระบบที่คล้ายๆกับระบบนี้มาทดลองใช้ยิง ต่อมาผม

ได้นำมาพัฒนาขี้นมาใหม่จีงเป็นระบบที่ใช้ลมเป็นตัวปลดจรวด2ท่อนนี้ ผมต้องขอขอบพระคุณลุงดนัยและลุงเปี๊ยกไว้ณ.ที่นี้ด้วยครับ

ในภาพ ตรงปากขวดด้านบนเอาท่อแกนนำส่งจรวดมาใส่ ส่วนตรงกลางท่อแกนนำส่งเอาจู๊บเติมลมรถจักรยานยนต์มายึดใส่และ ใส่วาวล์กันลมกลับ

(ใช้ลูกศรตัวที่มีสปริงยาวมาใช้เป็น วาวล์กันลมกลับโดยตัดแก่นออกครึ่งหนึ่ง) จากนั้นติดเคเบิลไทร์ที่คอขวด  เพื่อเป็นตัวกดล๊อคคอขวด

ใช้เคเบิลไทร์ขนาด600-4Cจะใช้4-6ตัวก็ได้ส่วนท่อสีฟ้าที่ใช้เป็นตัวกดล๊อคเคเบิลไทร์นั้นใช้ของท่อน้ำไทยขนาด1/1ส่วน4หรือขนาด1นิ้ว2หุน

มาตัดความยาวประมาณ5เซ็นติเมตรแล้วตัดเอา ท่อนที่เป็นคอขวดมาติดกับท่อpvc สีฟ้าเพื่อเป็นตัวรับลมเมื่อประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้วให้

ทดลองดูว่าตัว ท่อกดเคเบิลไทร์ขยับลงมาง่ายใหม ถ้าไม่ง่ายให้ใช้วิธีตะใบ ที่บ่าของขวดที่เป็นจรวดลูกบนออกจนให้มีลักษณะหลวมๆก็พอ 

จากการทดลองทำและยิงดูปรากฏว่าระบบปลดล๊อคด้วยลมนี้ทำงานได้ดี

 

                      

                                                                                                                                  ลูกศรตัวยาวที่มีสปริงอยู่ด้านนอก                                         

หลักการทำงานของระบบ เมื่อยิงจรวดออกไปแล้วลมที่ปะทะกับลำตัวจรวดจะไหลผ่านมาถึงกรวยที่ติดอยู่ด้านล่าง เมื่อปากกรวยที่มีท่อpvcถูกลมปะทะก็จะขยับ

ลงมาก็ทำให้ท่อที่กดล๊อคคอขวดอยู่ขยับตามลงมาด้วย เคเบิลไทร์ที่กดคอขวดไว้อยู่ก็ไม่สามารถรับแรงดัดอากาศที่อยู่ภายในจรวดได้  จรวดก็จะพุ่งออกไป  

สำหรับท่านไดมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ                                                                                                                                                                                                                                                                                                  

Copyright (c) 2006 by chirasak phochiangrak